บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7
กิจกรรม
**หมายเหตุ**
อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมตัวสอบกลางภาค และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม
ความรู้เพิ่มเติม
เทคนิกสอนลูกแปรงฟัน ดูแลฟันเด็ก
เทคนิกดูแลฟันเด็ก และ สอนลูกแปรงฟันอย่างถูกวิธี
วันนี้ฤกษ์งามยามดีดี มีสปอนเซอร์ใจดีสนับสนุน content เลยอยากจะขุดเรื่องเก่าๆ จากบล็อคเก่าๆ ที่เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องการดูแลรักษาฟันเด็ก อัพเดทการพาลูกไปหาหมอฟันอยู่เนืองๆ คิดอยู่เหมือนกันว่าวันไหนว่างๆ จะรวบรวมเขียนบล็อคเกี่ยวกับเรื่องการดูแลฟันเด็กน้อยบ้าง....(จะได้ไม่ต้องตอบคำถามกันบ่อยๆ ฮิฮิ) เอาวันนี้เลยละกันนะ....มาแชร์ข้อมูลกันว่า เหตุใดเราจึงควรจะให้ความสำคัญกับการดูแลฟันของเด็กๆ
เริ่มต้นตั้งแต่ฟันซี่แรกๆ ขึ้น ทีแรก เราก็ชีลๆ เช็ดฟันบ้าง ไม่เช็ดบ้าง ฟันมีอยู่ไม่กี่ซี่เองนิ หนำซ้ำ บางบ้านอาจจะคิดว่า ฟันน้ำนม ไม่ต้องดูแลอะไรมากก็ได้ ผุไป ยังไงซะ เดี๋ยวก็หลุด มีฟันแท้ขึ้นมาอยู่ดี..ชิมิๆ
เมื่อตอนประมาณขวบกว่าๆ เจ้าเบื๊อกมิวมิวพลาดท่า ซ่าหกล้ม เอาฟันหน้าไปกระแทกขอบเตียงฟันโยกผลุบเข้าไปด้านใน จนต้องหามส่งโรงพยาบาลกลางดึก (เวอร์ไม๊) ไปอ่านบล็อคเก่า 1 เกี่ยวกับอุบัติเหตุฟันของเด็กแสบได้ที่นี่
ณ ตอนนั้น คุณหมอ อธิบายความสำคัญของฟันให้ฟัง ว่า จริงๆ แล้วฟันน้ำนมก็สำคัญไม่ใช่น้อย นอกจากจะใช้บดเคี้ยวอาหารแล้ว การจัดเรียงตัวของฟันยังส่งผลถึงรูปหน้า( รูปหน้าของเด็ก จะเซ็ทตัวก็ต่อเมื่อฟันเขี้ยวสองข้างขึ้นแล้ว) กระดูกขากรรไกร การออกเสียงที่ชัดเจน ผลต่อการเรียงตัวและตำแหน่งของฟันแท้ที่จะขึ้นในเวลาต่อมา รวมไปถึงความสวยงาม...อะแน่นอน....สำคัญที่สุดนะ แค่นึกภาพ ด.ญ.มิวมิวเป็นหลอลี่..หรือด.ญ.ฟันเงิน ฟันทอง เหมือนอาแปะ...อิชั้นก็ทำใจไม่ได้แล้ว อีกตั้งหลายปีกว่าฟันแท้จะขึ้น ใจแป้วสิคะ เพราะแม่ชอบเด็กฟันสวย เวลายิ้มแล้วเห็นฟันน้ำนมซี่น้อยๆ เรียงกันในปากแล้วดูน่ารักดี T_T
วัยเตาะแตะ เป็นวัยที่คุณหมอบอกว่า พบอุบัติเหตุเกี่ยวกับฟันกันได้บ่อยมาก (แต่ใช่ว่าโตแล้วจะไม่มี เด็กไปโรงเรียนเล่นกับเพื่อน ก็อาจจะมีบ้าง บางครั้งไม่ได้บอกให้พ่อแม่รู้ มาพบอีกที ฟันเปลี่ยนสี หรือรากฟันอักเสบติดเชื้อ ฟันตายต้องถอนเลยก็มี) เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ คนรอบตัวที่เลี้ยงเด็กวัยนี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าสุดวิสัยจริงๆ หกล้ม หรือฟันกระแทกแรงๆ ควรพาไปพบทันตแพทย์ อย่านิ่งนอนใจปล่อยไว้ เพราะ คุณหมอจะได้ประเมิณ เอ็กซเรย์ดูผลของการกระแทก การเคลื่อนตัวของฟัน ว่าไปกระทบหน่อฟันแท้หรือไม่ และควรทำตัวอย่างไร
บล็อคเก่า 2 ผลจากอุบัติเหตุ
ตั้งแต่นั้นมา(อายุ 1 ขวบ) มิวมิวก็ไปพบหมอฟันอย่างต่อเนื่อง และคุ้นเคยกับหมอฟันที่สุด (ก็ไม่อยากหลอนี่นา)
เจ้ามิวสามารถนอนนิ่งๆ ดูคุณหมอทำฟันได้ จน อายุ 3 ขวบกว่า สามารถนอนอ้าปากค้างนานๆ ให้คุณหมอเคลื่อบหลุมร่องฟันทีละ 4 ซี่ได้แล้วเสร็จ (ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที เป็นอย่างน้อย) ฟันกรามที่เคลือบทั้งปากรวมแล้ว 8 ซี่ สบายใจหายห่วง ช่วยให้เศษอาหารไม่ค้างอยู่ตามหลุมร่องฟันกรามได้ระดับหนึ่ง
พัฒนาการฟันเด็ก
Tips การดูแลสุขภาพช่องปากลูกในแต่ละช่วงอายุ จาก
เด็ก 0-2 ปี
- พ่อแม่ควรแปรงฟันให้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและก่อนนอน
- เมื่อลูกบ้วนน้ำเป็นแล้ว ให้ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ จะช่วยป้องกันฟันผุได้อีกทาง (เจ้ามิวมิวบ้วนน้ำเองเป็นตอนอายุประมาณ ขวบกว่าๆ - สองขวบ)
เด็ก 3-4 ปี
- ควรเริ่มเรียนรู้ที่จะแปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลของพ่อและแม่อย่างใกล้ชิด อาจจะช่วยแปรงซ้ำอีกครั้งหลังจากลูกแปรงเองเสร็จแล้วก็ได้
- เริ่มทำความรู้จักและหัดใช้ไหมขัดฟัน
เด็กอายุ 5 ปี
ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุด โดยฟันน้ำนมจะรักษาพื้นที่สำหรับฟันแท้ไว้ ซึ่งถ้าเด็กสูญเสียฟันน้ำนมเร็วเกินไป ฟันแท้ที่ขึ้นมาอาจจะเก หรือคุดได้
เด็กอายุ 6 ปี
ฟันกรามที่เป็นฟันแท้จะเริ่มขึ้นด้านใน จึงควรดูแลรักษาแปรงฟันซี่ในสุดให้สะอาด
เคล็ดไม่ลับใช้กับมิวมิวที่บ้านคือ
- พยายามพาลูกไปหาคุณหมอฟันเฉพาะทางสำหรับเด็กแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่อายุ 1 ปี เพื่อสร้างความคุ้นเคย และ แสดงให้ลูกเห็นความสำคัญของฟ.ฟัน
(รู้ไม๊ว่า ในเด็กเล็ก ถ้าจะต้องอุดฟัน หรือถอนฟัน เพราะฟันผุ มันลำบากลำบนแค่ไหน... ถ้าเล็กมาก จับไม่อยู่ วางยาสลบ ต้องใช้วิสัญญีแพทย์สำหรับเด็ก....ได้ข่าวว่า รพ.รัฐก็หลักหมื่น รพ.เอกชน ก็เฉียดแสนมั้งน่ะ กับการวางยาเพื่อ ถอนฟัน! ถ้าเด็กเริ่มโต ไม่วางยา อาจจะมาลงเอยด้วยการมัดขึงติดกับเตียง)
หมอฟันสำหรับเด็กโดยเฉพาะ จะมีเทคนิคในการหลอกล่อ อดทน และใจเย็น เลเวลสูง...ใช้เวลาตรวจรักษา ประมาณ 5 นาที แต่หลอกเด็กล่อไปครึ่งชั่วโมงอะไรแบบนี้....และจะมีอุปกรณ์หลอกล่อมากมาย ทั้งลูกโป่ง สติกเกอร์ ลูกบอล กล่องดินสอ ที่คาดผม กิ๊บติดผม สารพัด เป็นอุปกรณ์ที่หมอผู้ใหญ่คงไม่ต้องใช้แน่นอน...
เมื่อฟันเริ่มเยอะประมาณนึง คุณหมออาจจะแนะนำให้เคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งจะช่วยป้องกันฟันผุ ได้ประมาณ 30% ค่าเคลื่อบต่อครั้งอาจจะอยู่ที่ 500-1000 บาท แล้วแต่สถานที่ (รพ.หรือคลินิก)
- ในเด็กเล็ก พ่อแม่ต้องแปรงให้ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน อย่าไปคิดมาก ว่า การจับลูกแปรงฟัน จะสร้างทัศนคติที่ไม่ดี ต่อการแปรงฟันและดูแลฟัน เพราะมันไม่จริง...มีเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไหนโตมาแล้วบอกว่าไม่อยากแปรงฟันเพราะตอนเด็กๆ พ่อแม่บังคับแปรงฟันไม๊....ถ้ามี อย่างน้อย ไอ่คนนั้น เพื่อนไม่คบแน่ๆ เพราะปากเหม็น ขอจงคิดถึงเหตุที่ทำให้ฟันผุ และค่าหมอฟันเข้าไว้
ท่าที่เหมาะที่สุด คือ ท่าแบบเตียงหมอฟัน คือ แม่นั่งอยู่ทางด้านหัว จับลูกนอนหนุนตัก ตำแหน่งนี้จะช่วยให้มองเห็นช่องปากทั้งหมด ล็อคแข้งขา และอาจจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยคือผ้าก็อซ พันนิ้วไว้หนาๆ ช่วยง้างปาก กันหมากัด..เอ้ย...เด็กกัด
เทคนิกดูแลฟันเด็ก และ สอนลูกแปรงฟันอย่างถูกวิธี
วันนี้ฤกษ์งามยามดีดี มีสปอนเซอร์ใจดีสนับสนุน content เลยอยากจะขุดเรื่องเก่าๆ จากบล็อคเก่าๆ ที่เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องการดูแลรักษาฟันเด็ก อัพเดทการพาลูกไปหาหมอฟันอยู่เนืองๆ คิดอยู่เหมือนกันว่าวันไหนว่างๆ จะรวบรวมเขียนบล็อคเกี่ยวกับเรื่องการดูแลฟันเด็กน้อยบ้าง....(จะได้ไม่ต้องตอบคำถามกันบ่อยๆ ฮิฮิ) เอาวันนี้เลยละกันนะ....มาแชร์ข้อมูลกันว่า เหตุใดเราจึงควรจะให้ความสำคัญกับการดูแลฟันของเด็กๆ
เริ่มต้นตั้งแต่ฟันซี่แรกๆ ขึ้น ทีแรก เราก็ชีลๆ เช็ดฟันบ้าง ไม่เช็ดบ้าง ฟันมีอยู่ไม่กี่ซี่เองนิ หนำซ้ำ บางบ้านอาจจะคิดว่า ฟันน้ำนม ไม่ต้องดูแลอะไรมากก็ได้ ผุไป ยังไงซะ เดี๋ยวก็หลุด มีฟันแท้ขึ้นมาอยู่ดี..ชิมิๆ
เมื่อตอนประมาณขวบกว่าๆ เจ้าเบื๊อกมิวมิวพลาดท่า ซ่าหกล้ม เอาฟันหน้าไปกระแทกขอบเตียงฟันโยกผลุบเข้าไปด้านใน จนต้องหามส่งโรงพยาบาลกลางดึก (เวอร์ไม๊) ไปอ่านบล็อคเก่า 1 เกี่ยวกับอุบัติเหตุฟันของเด็กแสบได้ที่นี่
ณ ตอนนั้น คุณหมอ อธิบายความสำคัญของฟันให้ฟัง ว่า จริงๆ แล้วฟันน้ำนมก็สำคัญไม่ใช่น้อย นอกจากจะใช้บดเคี้ยวอาหารแล้ว การจัดเรียงตัวของฟันยังส่งผลถึงรูปหน้า( รูปหน้าของเด็ก จะเซ็ทตัวก็ต่อเมื่อฟันเขี้ยวสองข้างขึ้นแล้ว) กระดูกขากรรไกร การออกเสียงที่ชัดเจน ผลต่อการเรียงตัวและตำแหน่งของฟันแท้ที่จะขึ้นในเวลาต่อมา รวมไปถึงความสวยงาม...อะแน่นอน....สำคัญที่สุดนะ แค่นึกภาพ ด.ญ.มิวมิวเป็นหลอลี่..หรือด.ญ.ฟันเงิน ฟันทอง เหมือนอาแปะ...อิชั้นก็ทำใจไม่ได้แล้ว อีกตั้งหลายปีกว่าฟันแท้จะขึ้น ใจแป้วสิคะ เพราะแม่ชอบเด็กฟันสวย เวลายิ้มแล้วเห็นฟันน้ำนมซี่น้อยๆ เรียงกันในปากแล้วดูน่ารักดี T_T
วัยเตาะแตะ เป็นวัยที่คุณหมอบอกว่า พบอุบัติเหตุเกี่ยวกับฟันกันได้บ่อยมาก (แต่ใช่ว่าโตแล้วจะไม่มี เด็กไปโรงเรียนเล่นกับเพื่อน ก็อาจจะมีบ้าง บางครั้งไม่ได้บอกให้พ่อแม่รู้ มาพบอีกที ฟันเปลี่ยนสี หรือรากฟันอักเสบติดเชื้อ ฟันตายต้องถอนเลยก็มี) เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ คนรอบตัวที่เลี้ยงเด็กวัยนี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าสุดวิสัยจริงๆ หกล้ม หรือฟันกระแทกแรงๆ ควรพาไปพบทันตแพทย์ อย่านิ่งนอนใจปล่อยไว้ เพราะ คุณหมอจะได้ประเมิณ เอ็กซเรย์ดูผลของการกระแทก การเคลื่อนตัวของฟัน ว่าไปกระทบหน่อฟันแท้หรือไม่ และควรทำตัวอย่างไร
บล็อคเก่า 2 ผลจากอุบัติเหตุ
ตั้งแต่นั้นมา(อายุ 1 ขวบ) มิวมิวก็ไปพบหมอฟันอย่างต่อเนื่อง และคุ้นเคยกับหมอฟันที่สุด (ก็ไม่อยากหลอนี่นา)
เจ้ามิวสามารถนอนนิ่งๆ ดูคุณหมอทำฟันได้ จน อายุ 3 ขวบกว่า สามารถนอนอ้าปากค้างนานๆ ให้คุณหมอเคลื่อบหลุมร่องฟันทีละ 4 ซี่ได้แล้วเสร็จ (ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที เป็นอย่างน้อย) ฟันกรามที่เคลือบทั้งปากรวมแล้ว 8 ซี่ สบายใจหายห่วง ช่วยให้เศษอาหารไม่ค้างอยู่ตามหลุมร่องฟันกรามได้ระดับหนึ่ง
พัฒนาการฟันเด็ก
Tips การดูแลสุขภาพช่องปากลูกในแต่ละช่วงอายุ จาก
เด็ก 0-2 ปี
- พ่อแม่ควรแปรงฟันให้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและก่อนนอน
- เมื่อลูกบ้วนน้ำเป็นแล้ว ให้ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ จะช่วยป้องกันฟันผุได้อีกทาง (เจ้ามิวมิวบ้วนน้ำเองเป็นตอนอายุประมาณ ขวบกว่าๆ - สองขวบ)
เด็ก 3-4 ปี
- ควรเริ่มเรียนรู้ที่จะแปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลของพ่อและแม่อย่างใกล้ชิด อาจจะช่วยแปรงซ้ำอีกครั้งหลังจากลูกแปรงเองเสร็จแล้วก็ได้
- เริ่มทำความรู้จักและหัดใช้ไหมขัดฟัน
เด็กอายุ 5 ปี
ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุด โดยฟันน้ำนมจะรักษาพื้นที่สำหรับฟันแท้ไว้ ซึ่งถ้าเด็กสูญเสียฟันน้ำนมเร็วเกินไป ฟันแท้ที่ขึ้นมาอาจจะเก หรือคุดได้
เด็กอายุ 6 ปี
ฟันกรามที่เป็นฟันแท้จะเริ่มขึ้นด้านใน จึงควรดูแลรักษาแปรงฟันซี่ในสุดให้สะอาด
เคล็ดไม่ลับใช้กับมิวมิวที่บ้านคือ
- พยายามพาลูกไปหาคุณหมอฟันเฉพาะทางสำหรับเด็กแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่อายุ 1 ปี เพื่อสร้างความคุ้นเคย และ แสดงให้ลูกเห็นความสำคัญของฟ.ฟัน
(รู้ไม๊ว่า ในเด็กเล็ก ถ้าจะต้องอุดฟัน หรือถอนฟัน เพราะฟันผุ มันลำบากลำบนแค่ไหน... ถ้าเล็กมาก จับไม่อยู่ วางยาสลบ ต้องใช้วิสัญญีแพทย์สำหรับเด็ก....ได้ข่าวว่า รพ.รัฐก็หลักหมื่น รพ.เอกชน ก็เฉียดแสนมั้งน่ะ กับการวางยาเพื่อ ถอนฟัน! ถ้าเด็กเริ่มโต ไม่วางยา อาจจะมาลงเอยด้วยการมัดขึงติดกับเตียง)
หมอฟันสำหรับเด็กโดยเฉพาะ จะมีเทคนิคในการหลอกล่อ อดทน และใจเย็น เลเวลสูง...ใช้เวลาตรวจรักษา ประมาณ 5 นาที แต่หลอกเด็กล่อไปครึ่งชั่วโมงอะไรแบบนี้....และจะมีอุปกรณ์หลอกล่อมากมาย ทั้งลูกโป่ง สติกเกอร์ ลูกบอล กล่องดินสอ ที่คาดผม กิ๊บติดผม สารพัด เป็นอุปกรณ์ที่หมอผู้ใหญ่คงไม่ต้องใช้แน่นอน...
เมื่อฟันเริ่มเยอะประมาณนึง คุณหมออาจจะแนะนำให้เคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งจะช่วยป้องกันฟันผุ ได้ประมาณ 30% ค่าเคลื่อบต่อครั้งอาจจะอยู่ที่ 500-1000 บาท แล้วแต่สถานที่ (รพ.หรือคลินิก)
- ในเด็กเล็ก พ่อแม่ต้องแปรงให้ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน อย่าไปคิดมาก ว่า การจับลูกแปรงฟัน จะสร้างทัศนคติที่ไม่ดี ต่อการแปรงฟันและดูแลฟัน เพราะมันไม่จริง...มีเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไหนโตมาแล้วบอกว่าไม่อยากแปรงฟันเพราะตอนเด็กๆ พ่อแม่บังคับแปรงฟันไม๊....ถ้ามี อย่างน้อย ไอ่คนนั้น เพื่อนไม่คบแน่ๆ เพราะปากเหม็น ขอจงคิดถึงเหตุที่ทำให้ฟันผุ และค่าหมอฟันเข้าไว้
ท่าที่เหมาะที่สุด คือ ท่าแบบเตียงหมอฟัน คือ แม่นั่งอยู่ทางด้านหัว จับลูกนอนหนุนตัก ตำแหน่งนี้จะช่วยให้มองเห็นช่องปากทั้งหมด ล็อคแข้งขา และอาจจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยคือผ้าก็อซ พันนิ้วไว้หนาๆ ช่วยง้างปาก กันหมากัด..เอ้ย...เด็กกัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น