ยินดีต้อนรับ


วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12



กิจกรรม

            พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะ ของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  คือ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน พัฒนาการนี้อาจจะพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้า ด้วยก็ได้


ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
-ปัจจัยสภาพแวดล้อมหลังคลอด


สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.โรคพันธุกรรม มีพัฒนาการล่าช้า ตั้งแต่เกิด หรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย 
2.โรคระบบประสาท  มักมีอาการ หรืออาการประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อย อาการชัก และความตึงของกล้ามเนื้อผิดปกติ
3.การติดเชื้อ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กมักมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีม้ามโต การได้ยินบกพร่อง  และต้อกระจกร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น
สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ 
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลึซึม ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด 
6.สารเคมี 
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร


อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ

แนวทางในการดูแลรักษา
1.หาสาเหตุที่่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
2.การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
3.การรักษาสาเหตุโดยตรง
4.การส่งเสริมพัฒนาการ
5.ให้คำปรึกษากับครอบครัว

สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การตรวจคัดกรองพัฒนาการ Developmental Screening
2.การตรวจประเมินพัฒนาการ   Developmental Assessment
3.การให้การวินิจฉัย และหาสาเหตุ Diagnosis
4.การให้การรักษา และส่งเสริมพัฒนาการ Treatment and Early Intervention
5.การติดตาม และ ประเมินผลการรักษาเป็นระยะ Follow Up and Evaluation

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น