ยินดีต้อนรับ


วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 15



กิจกรรม

การดูแลให้ความช่วยเหลือ
-สร้างความภาคภูมิใจในตนเองให้เกิดกับเด็ก
-มองหาจุดดี จุดแข็งของเด็ก และให้คำชมอยู่เสมอ
-ให้การเสริมแรงทางบวก
-รู้จักลักษณะของเด็กที่เป็นสัญญาณเตือน
-วางแผนการจัดทำแฟ้มข้อมูลเกี่้ยวกับการเรียนรู้ของเด็ก
-สังเกตติดตามความสามารถ และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของเด็ก 
-IEP

การรักษาด้วยยา

-Ritalin
-Dexedrine
-Cylert

หน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการพิเศษ

-สำนักงานบริหารการศึกษาพิเศษ(สศศ)
-โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์
-ศูนย์การศึกษาพิเศษ(Early Intervention . EI)
-โรงเรียนเฉพาะความพิการ
-สถาบันราชานุกูล


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 14



กิจกรรม

การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
ส่งเสริมความเข้มแข็งครอบครัว (Family Empowerment)
-ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในการดูแลช่วยเหลือเด็กออทิสติก

ส่งเสริมความสามารถเด็ก (Ability Enhancement)
การส่งเสริมโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากลาย
-ทำกิจกรรมที่หลากหลาย

ส่งเสริมพัฒนาการ (Developmental Intervention)
-ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
-ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับการพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Behavior Modification)
-เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
-การให้แรงเสริม
แก้ไขการพูด (speech Therapy)
-โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
-ถ้าเด็กพูดได้เร็วโอกาสที่จะมีพัฒนาการทางภาษาใกล้เคียงปกติเพิ่มมากขึ้น
-ลดการการใช้ภาษาที่ไม่เหมาะสม
-ช่วยลดพฤติกรรมก้าวร้าวที่เกิดขึ้นจากการไม่สามารถสื่อสารความต้องการได้
-การสื่อสารความหมายทดแทน (AAC)

การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา (Educational Rehabilitation)
-เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
-แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
-โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

ฝึกทักษะสังคม (Social Skills Training)
-ทักษะในชีวิตประจำวัน และฝึกฝนทักษะทางสังคม
-ให้เด็กสามารถทำด้วยตนเองเต็มความสามารถโดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด

การรักษาด้วยยา (Pharmacotherapy)
-Methylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง /ซน/หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
-Risperidone/Haloperidol ช่วยลดอาการไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรมซ้ำ ๆ พฤติกรรมก้าวร้าว รุนแรง
-ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชักใช้ได้ผลในรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตัวเอง

การแพทย์เสริมและทางเลือก (Complementary and Alternative Medicine)
1. ศิลปะบำบัด (Art Therapy)       
2. ดนตรีบำบัด (Music Therapy)  
3. ละครบำบัด (Drama Therapy)  
4. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
5. การฝังเข็ม (Acupuncture)         
6. เครื่องเอชอีจี (HEG; Hemoencephalogram)

พ่อ แม่ (Parent)
-“ลูกต้องพัฒนาได้
-“เรารักลูกของเราไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
-“ถ้าเราไม่รัก ใครจะรัก
-“หยุดไม่ได้
-ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้เข้มแข็ง
-ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
-หันหน้าปรึกษากันในครอบครัว


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 13




กิจกรรม

**หมายเหตุ**

            อาจารย์ได้ให้นักศึกษาสอบกลางภาค 


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 12



กิจกรรม

            พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่ และวุฒิภาวะ ของอวัยวะต่างๆ รวมทั้งตัวบุคคล ทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

            เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ  คือ เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน พัฒนาการนี้อาจจะพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้าน และพัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้า ด้วยก็ได้


ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
-ปัจจัยทางด้านชีวภาพ 
-ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
-ปัจจัยสภาพแวดล้อมหลังคลอด


สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.โรคพันธุกรรม มีพัฒนาการล่าช้า ตั้งแต่เกิด หรือสังเกตได้ชั่วระยะไม่นานหลังเกิดมักมีลักษณะผิดปกติแต่กำเนิดร่วมด้วย 
2.โรคระบบประสาท  มักมีอาการ หรืออาการประสาทร่วมด้วย ที่พบบ่อย อาการชัก และความตึงของกล้ามเนื้อผิดปกติ
3.การติดเชื้อ ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ เด็กมักมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ศีรษะเล็กกว่าปกติ อาจมีม้ามโต การได้ยินบกพร่อง  และต้อกระจกร่วมด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อรุนแรงภายหลังเกิด เช่น
สมองอักเสบ เยื้อหุ้มสมองอักเสบ 
4.ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลึซึม ไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดต่ำ
5.ภาวะแทรกซ้อนระยะแรกเกิด 
6.สารเคมี 
7.การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร


อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การซักประวัติ
2.การตรวจร่างกาย
3.การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
4.การประเมินพัฒนาการ

แนวทางในการดูแลรักษา
1.หาสาเหตุที่่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
2.การตรวจค้นหาความผิดปกติร่วม
3.การรักษาสาเหตุโดยตรง
4.การส่งเสริมพัฒนาการ
5.ให้คำปรึกษากับครอบครัว

สรุปขั้นตอนในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
1.การตรวจคัดกรองพัฒนาการ Developmental Screening
2.การตรวจประเมินพัฒนาการ   Developmental Assessment
3.การให้การวินิจฉัย และหาสาเหตุ Diagnosis
4.การให้การรักษา และส่งเสริมพัฒนาการ Treatment and Early Intervention
5.การติดตาม และ ประเมินผลการรักษาเป็นระยะ Follow Up and Evaluation


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 11





กิจกรรม

** หมายเหตุ **
       ไม่มีการเรียนการสอน เพราะเพื่อนบางคนไม่สามารถมาเรียนได้ เกิดจากการ Shut Down BKK



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 10


กิจกรรม
อาจารย์แจกใบประเมิน เพื่อให้ประเมินเพื่อน แต่ละกลุ่ม โดยในวันนี้เพื่อนนำเสนอ ด้วยกัน 3กลุ่ม 

กลุ่มที่ 1 คือ ความบกพร่องทางสมองพิการ ( C.P.) คือเด็กที่สมองพิการ (Cerebral Palsy) C.P.ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นโรคที่คงที่ ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ ร่างกายและ กล้ามเนื้อ ทรงตัวผิดปกติ เช่นการเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา


กลุ่มเพื่อนนำเสนอความบกพร่องทางสมองพิการ

กลุ่มที่ 2 ความบกพร่องทางการเรียนรู้( LD.) เป็นโรคที่เด็กอยู่ในภาวะบกพร่องการเรียนรู้ เด็กวัยนี้จะเก่งกว่าปกติ หรืออยู่ในระดับปกติ แต่การเรียนรู้จะช้ากว่าเด็กปกติ

สาเหตุที่เกิด 
-พ่อแม่ ญาติพี่น้อง มีประวัติเป็นโรคนี้
-แม่มีอายุน้อยมาก
-น้ำหนักตัวเด็กน้อยมาก
-เด็กมีภาวะบาดเจ็บทางสมองก่อนคลอด หรือหลังคลอด กำหนด
-สภาพแวดล้อมเป็นมลพิษ




กลุ่มเพื่อนนำเสนอ ความบกพร่องทางการเรียนรู้

กลุ่มที่ 3 เด็กสมาธิสั้น  คือ เด็กที่ไม่สามารถ นั่งวางแผน  นั่งทำงานให้สำเร็จ ตามเป้าหมายได้ ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ไม่สามารถทำงานที่ใช้ทักษะได้ 
สาเหตุที่เกิด
สมองบางส่วนทำงานน้อยกว่าปกติ  และยังพบอีกว่า แม่ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ในระหว่างตั้งครรภ์ อาจจะมีผลให้สมองของเด็กมีปัญหาในการพัฒนา นอกจากนี้ยังพบว่าสารตะกั่ว น่าจะทำให้เกิดโรคนี้


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 9



กิจกรรม



**หมายเหตุ** ไม่มีการเรีย
นการสอน เนื่องจากเป็นวันขึ้นปีใหม่


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 8



กิจกรรม



**หมายเหตุ**

            อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมตัวสอบกลางภาค 


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 7



กิจกรรม


**หมายเหตุ**

            อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมตัวสอบกลางภาค และดิฉันได้หาเนื้อหาเพิ่มเติม

ความรู้เพิ่มเติม

เทคนิกสอนลูกแปรงฟัน ดูแลฟันเด็ก 

เทคนิกดูแลฟันเด็ก และ สอนลูกแปรงฟันอย่างถูกวิธี
วันนี้ฤกษ์งามยามดีดี มีสปอนเซอร์ใจดีสนับสนุน content เลยอยากจะขุดเรื่องเก่าๆ จากบล็อคเก่าๆ ที่เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องการดูแลรักษาฟันเด็ก อัพเดทการพาลูกไปหาหมอฟันอยู่เนืองๆ คิดอยู่เหมือนกันว่าวันไหนว่างๆ จะรวบรวมเขียนบล็อคเกี่ยวกับเรื่องการดูแลฟันเด็กน้อยบ้าง....(จะได้ไม่ต้องตอบคำถามกันบ่อยๆ ฮิฮิ) เอาวันนี้เลยละกันนะ....มาแชร์ข้อมูลกันว่า เหตุใดเราจึงควรจะให้ความสำคัญกับการดูแลฟันของเด็กๆ

เริ่มต้นตั้งแต่ฟันซี่แรกๆ ขึ้น ทีแรก เราก็ชีลๆ เช็ดฟันบ้าง ไม่เช็ดบ้าง ฟันมีอยู่ไม่กี่ซี่เองนิ หนำซ้ำ บางบ้านอาจจะคิดว่า ฟันน้ำนม ไม่ต้องดูแลอะไรมากก็ได้ ผุไป ยังไงซะ เดี๋ยวก็หลุด มีฟันแท้ขึ้นมาอยู่ดี..ชิมิๆ

เมื่อตอนประมาณขวบกว่าๆ เจ้าเบื๊อกมิวมิวพลาดท่า ซ่าหกล้ม เอาฟันหน้าไปกระแทกขอบเตียงฟันโยกผลุบเข้าไปด้านใน จนต้องหามส่งโรงพยาบาลกลางดึก (เวอร์ไม๊) ไปอ่านบล็อคเก่า 1 เกี่ยวกับอุบัติเหตุฟันของเด็กแสบได้ที่นี่


ณ ตอนนั้น คุณหมอ อธิบายความสำคัญของฟันให้ฟัง ว่า จริงๆ แล้วฟันน้ำนมก็สำคัญไม่ใช่น้อย นอกจากจะใช้บดเคี้ยวอาหารแล้ว การจัดเรียงตัวของฟันยังส่งผลถึงรูปหน้า( รูปหน้าของเด็ก จะเซ็ทตัวก็ต่อเมื่อฟันเขี้ยวสองข้างขึ้นแล้ว) กระดูกขากรรไกร การออกเสียงที่ชัดเจน ผลต่อการเรียงตัวและตำแหน่งของฟันแท้ที่จะขึ้นในเวลาต่อมา รวมไปถึงความสวยงาม...อะแน่นอน....สำคัญที่สุดนะ แค่นึกภาพ ด.ญ.มิวมิวเป็นหลอลี่..หรือด.ญ.ฟันเงิน ฟันทอง เหมือนอาแปะ...อิชั้นก็ทำใจไม่ได้แล้ว อีกตั้งหลายปีกว่าฟันแท้จะขึ้น ใจแป้วสิคะ เพราะแม่ชอบเด็กฟันสวย เวลายิ้มแล้วเห็นฟันน้ำนมซี่น้อยๆ เรียงกันในปากแล้วดูน่ารักดี T_T 

วัยเตาะแตะ เป็นวัยที่คุณหมอบอกว่า พบอุบัติเหตุเกี่ยวกับฟันกันได้บ่อยมาก (แต่ใช่ว่าโตแล้วจะไม่มี เด็กไปโรงเรียนเล่นกับเพื่อน ก็อาจจะมีบ้าง บางครั้งไม่ได้บอกให้พ่อแม่รู้ มาพบอีกที ฟันเปลี่ยนสี หรือรากฟันอักเสบติดเชื้อ ฟันตายต้องถอนเลยก็มี) เพราะฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ คนรอบตัวที่เลี้ยงเด็กวัยนี้ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ถ้าสุดวิสัยจริงๆ หกล้ม หรือฟันกระแทกแรงๆ ควรพาไปพบทันตแพทย์ อย่านิ่งนอนใจปล่อยไว้ เพราะ คุณหมอจะได้ประเมิณ เอ็กซเรย์ดูผลของการกระแทก การเคลื่อนตัวของฟัน ว่าไปกระทบหน่อฟันแท้หรือไม่ และควรทำตัวอย่างไร 
บล็อคเก่า 2 ผลจากอุบัติเหตุ 

ตั้งแต่นั้นมา(อายุ 1 ขวบ) มิวมิวก็ไปพบหมอฟันอย่างต่อเนื่อง และคุ้นเคยกับหมอฟันที่สุด (ก็ไม่อยากหลอนี่นา)
เจ้ามิวสามารถนอนนิ่งๆ ดูคุณหมอทำฟันได้ จน อายุ 3 ขวบกว่า สามารถนอนอ้าปากค้างนานๆ ให้คุณหมอเคลื่อบหลุมร่องฟันทีละ 4 ซี่ได้แล้วเสร็จ (ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที เป็นอย่างน้อย) ฟันกรามที่เคลือบทั้งปากรวมแล้ว 8 ซี่ สบายใจหายห่วง ช่วยให้เศษอาหารไม่ค้างอยู่ตามหลุมร่องฟันกรามได้ระดับหนึ่ง

พัฒนาการฟันเด็ก
Tips การดูแลสุขภาพช่องปากลูกในแต่ละช่วงอายุ จาก 
เด็ก 0-2 ปี
- พ่อแม่ควรแปรงฟันให้อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หลังอาหารเช้าและก่อนนอน
- เมื่อลูกบ้วนน้ำเป็นแล้ว ให้ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ จะช่วยป้องกันฟันผุได้อีกทาง (เจ้ามิวมิวบ้วนน้ำเองเป็นตอนอายุประมาณ ขวบกว่าๆ - สองขวบ)

เด็ก 3-4 ปี
- ควรเริ่มเรียนรู้ที่จะแปรงฟันอย่างถูกวิธีด้วยตนเอง ภายใต้การดูแลของพ่อและแม่อย่างใกล้ชิด อาจจะช่วยแปรงซ้ำอีกครั้งหลังจากลูกแปรงเองเสร็จแล้วก็ได้
- เริ่มทำความรู้จักและหัดใช้ไหมขัดฟัน

เด็กอายุ 5 ปี
ฟันน้ำนมจะเริ่มหลุด โดยฟันน้ำนมจะรักษาพื้นที่สำหรับฟันแท้ไว้ ซึ่งถ้าเด็กสูญเสียฟันน้ำนมเร็วเกินไป ฟันแท้ที่ขึ้นมาอาจจะเก หรือคุดได้

เด็กอายุ 6 ปี
ฟันกรามที่เป็นฟันแท้จะเริ่มขึ้นด้านใน จึงควรดูแลรักษาแปรงฟันซี่ในสุดให้สะอาด

เคล็ดไม่ลับใช้กับมิวมิวที่บ้านคือ
- พยายามพาลูกไปหาคุณหมอฟันเฉพาะทางสำหรับเด็กแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่อายุ 1 ปี เพื่อสร้างความคุ้นเคย และ แสดงให้ลูกเห็นความสำคัญของฟ.ฟัน 
(รู้ไม๊ว่า ในเด็กเล็ก ถ้าจะต้องอุดฟัน หรือถอนฟัน เพราะฟันผุ มันลำบากลำบนแค่ไหน... ถ้าเล็กมาก จับไม่อยู่ วางยาสลบ ต้องใช้วิสัญญีแพทย์สำหรับเด็ก....ได้ข่าวว่า รพ.รัฐก็หลักหมื่น รพ.เอกชน ก็เฉียดแสนมั้งน่ะ กับการวางยาเพื่อ ถอนฟัน! ถ้าเด็กเริ่มโต ไม่วางยา อาจจะมาลงเอยด้วยการมัดขึงติดกับเตียง)
หมอฟันสำหรับเด็กโดยเฉพาะ จะมีเทคนิคในการหลอกล่อ อดทน และใจเย็น เลเวลสูง...ใช้เวลาตรวจรักษา ประมาณ 5 นาที แต่หลอกเด็กล่อไปครึ่งชั่วโมงอะไรแบบนี้....และจะมีอุปกรณ์หลอกล่อมากมาย ทั้งลูกโป่ง สติกเกอร์ ลูกบอล กล่องดินสอ ที่คาดผม กิ๊บติดผม สารพัด เป็นอุปกรณ์ที่หมอผู้ใหญ่คงไม่ต้องใช้แน่นอน...

เมื่อฟันเริ่มเยอะประมาณนึง คุณหมออาจจะแนะนำให้เคลือบฟลูออไรด์ ซึ่งจะช่วยป้องกันฟันผุ ได้ประมาณ 30% ค่าเคลื่อบต่อครั้งอาจจะอยู่ที่ 500-1000 บาท แล้วแต่สถานที่ (รพ.หรือคลินิก)

- ในเด็กเล็ก พ่อแม่ต้องแปรงให้ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน อย่าไปคิดมาก ว่า การจับลูกแปรงฟัน จะสร้างทัศนคติที่ไม่ดี ต่อการแปรงฟันและดูแลฟัน เพราะมันไม่จริง...มีเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไหนโตมาแล้วบอกว่าไม่อยากแปรงฟันเพราะตอนเด็กๆ พ่อแม่บังคับแปรงฟันไม๊....ถ้ามี อย่างน้อย ไอ่คนนั้น เพื่อนไม่คบแน่ๆ เพราะปากเหม็น ขอจงคิดถึงเหตุที่ทำให้ฟันผุ และค่าหมอฟันเข้าไว้ 
ท่าที่เหมาะที่สุด คือ ท่าแบบเตียงหมอฟัน คือ แม่นั่งอยู่ทางด้านหัว จับลูกนอนหนุนตัก ตำแหน่งนี้จะช่วยให้มองเห็นช่องปากทั้งหมด ล็อคแข้งขา และอาจจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยคือผ้าก็อซ พันนิ้วไว้หนาๆ ช่วยง้างปาก กันหมากัด..เอ้ย...เด็กกัด



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 6



กิจกรรม

**หมายเหตุ** ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจาก
วันรัฐธรรมนูญ


บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 5





กิจกรรม

** หมายเหตุ **

วันนี้อาจารย์แจกเอกสารประกอบการเรียนการสอน และมอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มเตรียมตัวนำเสนอหัวข้อที่กลุ่มของตนเองจับฉลากได้ในสัปดาห์ต่อไป

*เนื่องจากอุปกรณ์ในห้องเรียนมีปัญหาจึงไม่มีการเรียนการสอนแต่ได้มอบหมายงานแทน*




บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 4





กิจกรรม

วันนี้อาจารย์สอนต่อจากอาทิตย์ที่แล้ว 


 6.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์(Children with Behavioral and Emotional Disorders)

-เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้

-เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้

-ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างเรียบร้อย

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และอารมณ์ สามารถ แบ่งออกเป็น 2ประเภท ดังนี้ คือ

-เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์

-เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้


เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ มักมีพฤติกรรมที่เห็นได้ชัด  คือ

 -วิตกกังวล      

-หนีสังคม     

 -ก้าวร้าว


การจะจัดว่าเด็กมีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังนี้

-สภาพแวดล้อม     -

ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล      

ผลกระทบ

-ไม่สามารถเรียนหนังสือได้เช่นเด็กปกติ

-รักษาความสัมพันธ์ กับเพื่อนหรือกับครูไม่ได้

-มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

-มีความคับข้องใจ และมีความเก็บกดอารมณ์

-แสดงอาการทางร่างกาย เช่น ปวดศรีษะ ปวดตามส่วนต่างๆของร่างกาย

-มีความหวาดกลัว


เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก

-เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)

-เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)

เด็กสมาธิสั้น(Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)

-เรียกโดยย่อๆว่า ADHD

-เด็กที่ซนอยู่ไม่นิ่ง ซนมากผิดปกติ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา

 -เด็กบางคนมีปัญหา เรื่องสมาชิกบกพร่อง อาการหุนหันพลันแล่น ขาดความยังยั้งชั่งใจ เด็กเหล่านี้ทางการแพทย์ เรียกว่า Attention Deficit Disorders (ADD)


ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม และ อารมณ์

-อุจจาระ ปัสสาวะ รดเสื้อผ้า หรือที่นอน

-ติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก

-ดูดนิ้ว กัดเล็บ

-หงอยเหงา เศี้าซึม การหนีสังคม

-เรียกร้องความสนใจ

-อารมณ์หวั่นไหวง่าย ต่อสิ่งเร้า

-อิจฉา ริษยา ก้าวร้าว

-ฝันกลางวัน

-พูดเพ้อเจ้อ


7.เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้( Children with Learning Disabilities)


-เรียกย่อๆว่า L.D. (Learning Disability)

-เด็กที่มีปัญหา ทางการเรียนรู้เฉพาอย่าง

-เด็กมีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน 

-ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจาก ความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย


ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้

-มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์

-ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้

-เล่าเรื่อง/ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้

-มีปัญหาด้านการ อ่าน เขียน

-ซุ่มซ่าม

-รับลูกบอลไม่ได้

-ติดกระดุมไม่ได้

-เอาแต่ใจตนเอง


8.เด็กออทิสติก (Autistic)-หรือ ออทิซึ่ม(Autism)

-เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้

-เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง

-ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต


ลักษณะของเด็กออทิสติก-อยู่ในโลกของตนเอง-ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ความปลอบใจ-ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน-ไม่ยอมพูด-เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ-ยึดติดวัตถุ-ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์อย่างรุนแรง และไร้เหตุผล-มีทีท่าเหมือนคนหูหนวก-ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่ต่างจากคนทั่วไป
9.เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)อาการของเด็กประเภทนี้ มีดังนี้-เด็กมีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก-เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน-เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด-เด็กที่ทั้งหูหนวก และ ตาบอด

    -อาจารย์ให้ดูวีดีโอ เรืองห้องเรียนแรกของเด็กพิเศษพร้อมทั้งทำแผนผังความคิดโดยสรุป ส่งในคาบ



บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 3



กิจกรรม


            เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หมายถึง บุคคลที่มีปัญหาทางการเคลื่อนไหวอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนขาดหายไป  กระดูกและกล้ามเนื้อพิการ  เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง  มีความพิการของระบบประสาท  มีความลำบากในการเคลื่อนไหว  ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการจัดการศึกษาในสภาพปกติและต้องอาศัยการฝึกฝน  การใช้เครื่องมือ  วัสดุ  อุปกรณ์หรือต้องการเครื่องอำนวยความสะดวกเข้าช่วย


ลักษณะอาการ 

- อาการที่บกพร่องทางร่างกาย  ที่มักพบบ่อย ได้แก่

              1. ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจนฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่างๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
  • อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
  • อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
  • อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
  • อัมพาตตึงแข็ง  (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
  • อัมพาตแบบผสม  (Mixed)
                2.กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย 
                3.โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
              4.โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว             
             5.แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก             
            6.โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง

ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่

             1. โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
  • ลมบ้าหมู (Grand Mal)
  • การชั่กในช่วงสั้นๆ(Petit Mal)
  • การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
  • อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
  • อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)

             2.โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม             
            3.โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน                   4.โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ             5.โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ             
           6.โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด




บันทึกการเรียนการสอน ครั้งที่ 2



กิจกรรม

อาจารย์สอนเรื่อง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Special Child)  

ซึ่งหลายคนก็มักจะนึกถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือมีพัฒนาการ

บกพร่อง แต่จริงๆ แล้วคำว่าเด็กพิเศษนั้นครอบคลุมไปมากกว่านั้นค่ะ เพราะว่า “เด็กพิเศษ” (Special Child) มาจากคำเต็มๆ ว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” (Child with Special Needs) หมายถึง เด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษมากกว่าเด็กทั่วๆ ไป ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม ซึ่ง นพ.ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น) ได้แบ่งเด็กพิเศษออกเป็น กลุ่มหลักๆ ดังนี้
1) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ: เนื่องจากคนในสังคมมักคิดว่าเด็กเหล่านี้เป็นเด็กเก่ง เด็กกลุ่มนี้จึงมักไม่ค่อยได้รับการดูแลและช่วยเหลืออย่างจริงจัง ในทางตรงกันข้าม หลายๆ ครอบครัวกลับไปเพิ่มความกดดันให้กับเด็กมากยิ่งขึ้น เพราะมีความคาดหวังมากกว่าเด็กปกติทั่วไป นอกจากนี้วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไปก็ไม่สามารถตอบสนองความต้องการในการเรียนรู้ของเด็กกลุ่มนี้ได้ มักทำให้เด็กเกิดความเบื่อหน่ายและอาจทำให้ไม่สสามารถแสดงความสามารถพิเศษที่มีอยู่ได้อย่างเต็มศักยภาพ เด็กที่มีความสามารถพิเศษสามารถแบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป 
          •  เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน เด็กเหล่านี้อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่จะมีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน ที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ 
          •  เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2) เด็กที่มีความบกพร่อง: ในต่างประเทศได้มีการแบ่งแยกย่อยไปหลายแบบ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการของไทยได้แบ่งออกเป็น กลุ่มย่อย ดังนี้ 
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและการเคลื่อนไหว
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์และพฤติกรรม
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Disabilities)
          •  เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
          •  เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
          •  เด็กที่มีความพิการซ้อน

3) เด็กยากจนและด้อยโอกาส: คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็ก และยังรวมไปถึงกลุ่มเด็กที่ขาดโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ อีกด้วย เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ 
      ทั้งนี้  เด็กในกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึงนี้ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อให้พวกเค้าสามารถพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม รวมทั้งได้รับการยอมรับและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข